วันพฤหัสบดีที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2554

เรือรบหลวงประแสร์ ตำนานที่คงอยู่

ถือว่าเป็นเรืออีกหนึ่งลำที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ของราชนาวีไทย เมื่อปลดประจำการแล้ว ทางเทศบาลตำบลปากน้ำประแสได้นำไปจอดทำสร้างเป็นอนุสรณ์เรือหลวงประแสร์ (ลำที่๒) ซึ่งเป็นตัวอย่างหนึ่งของการอนุรักษ์เรือเก่าที่ปลดประจำการเอาไว้
๐๑/๓๒ จากการที่กองทัพเรือได้จัดส่งกำลังทางเรือเข้าปฏิบัติการร่วมกับองค์การสหประชาชาติ กรณีพิพาทระหว่างเกาหลีเหนือกับเกาหลีใต้ ซึ่งในการรบกองทัพเรือต้องสูญเสีย เรือรบหลวงประแส(ลำที่ ๑)ไป รัฐบาลไทยจึงให้กระทรวงการต่างประเทศ ติดต่อซื้อเรือจากประเทศสหรัฐอเมริกา จำนวน ๒ ลำ โดยกองทัพเรือสหรัฐฯได้เสนอเรือฟริเกต(Patrol Frigate) ชั้น Tacoma จำนวน ๒ ลำ คือ USS Glendale (PF 36)และ USS Gallup (PF 47) ต่อมาได้รับพระราชทานชื่อ ร.ล.ท่าจีน(ลำที่ ๒)และ ร.ล.ประแส(ลำที่ ๒) ตามลำดับ โดยเรือทั้ง ๒ ลำซื้อมาในราคา ๘๖๑,๙๔๖เหรียญสหรัฐฯ

 พิธีรับมอบเรือทั้ง ๒ ลำ มีขึ้นเมื่อวันที่ ๒๙ ตุลาคม พ.ศ.๒๔๙๔ ที่ท่าเรือหมายเลข ๑๒ ของฐานทัพเรือโยโกสุกะ  ประเทศญี่ปุ่น โดยมีเอกอัครราชทูตไทยประจำประเทศญี่ปุ่น นายสง่า นิลกำแหง เป็นประธานรับมอบฝ่ายไทย ต่อมาในวันที่ ๒๖ ธันวาคม พ.ศ.๒๔๙๔ ร.ล.ท่าจีน(ลำที่ ๒)และ ร.ล.ประแส(ลำที่ ๒)ได้ออกเดินทางไปยังฐานทัพเรือซาเซโบ เพื่อรับหน้าที่แทน ร.ล.บางปะกง และเข้าสังกัดกองเรือสหประชาชาติในวันที่ ๒๙ ธันวาคม พ.ศ.๒๔๙๔ โดยมี น.อ.วิเชียร พันธุ์โภคา เป็น ผบ.หมู่เรือฟริเกตร่วมรบสหประชาชาติ ( มฟ. ) น.ท.จรูญ โอสถรูป เป็น ผบ.ร.ล.ท่าจีน(PF-1) และ น.ท.อมร ศิริกายะ เป็น ผบ.ร.ล.ประแส(PF-2) 

ภารกิจแรกของหมู่เรือ เริ่มตั้งแต่วันที่ ๑๑ มกราคม พ.ศ.๒๔๙๕ คือออกเรือลาดตะเวนปิดอ่าวคุ้มกันเรือลำเลียง เรือบรรทุกน้ำมัน เรือกวาดทุ่นระเบิด ระดมยิงฝั่งเป็นครั้งคราว โดยมียุทธบริเวณตั้งแต่ท่าเรือปูซานฝั่งตะวันออก เรื่อยไปจนถึงวอนซานในเกาหลี และตลอดระยะเวลาประมาณ ๒ ปีเศษ ร.ล.ประแส ได้ออกปฏิบัติการตามภารกิจทางยุทธการรวม ๓๒ ครั้ง ระยะเวลาประมาณ ๓๐๐ วัน

หลังจากที่ได้มีการเซ็นสัญญาสงบศึกในวันที่ ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ.๒๔๙๗ แล้ว ร.ล.ประแสยังคงวางกำลังอยู่ที่ประ เทศญี่ปุ่นต่อมาอีกระยะเวลาหนึ่ง จนกระทั่งในวันที่ ๖ มกราคม พ.ศ.๒๔๙๘ กระทรวงกลาโหม ได้มีคำสั่ง (เฉพาะ) ที่ ๒/๒๕๗ ให้ถอนทหารบางส่วนกลับประเทศไทย สำหรับกำลังทางเรือ กำหนดให้ถอนกำลัง มส. พร้อมด้วย ร.ล.ท่าจีน และ ร.ล.ประแส กลับและให้เรือทั้ง ๒ ลำ ทำหน้าที่คุ้มกันเรือลำเลียงทหารบก ในระหว่างการเดินทางกลับด้วย
ก่อนหมู่เรือจะเดินทางกลับ ได้เข้ารับการซ่อมทำที่อู่โยโกสุกะ ประเทศญี่ปุ่น เมื่อวันที่ ๕ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๔๙๗ เนื่องจากเรือชำรุดทรุดโทรมในขณะออกปฏิบัติการตามภารกิจ ในระหว่างที่เรือทั้ง ๒ ลำ กำลังเข้ารับ การซ่อมใหญ่ในอู่ที่ฐานทัพเรือโยโกสุกะอยู่นั้น ในวันที่ ๖ มกราคม พ.ศ. ๒๔๙๘ เวลา ๑๐.๓๐ น. พันเอก ชัยรัตน์ อินทุภูมิ หัวหน้านายทหารติดต่อประจำกองบัญชาการกองกำลังสหประชาชาติ ได้นำ พันโท อำนวย โสมนัส ผู้บังคับกองพันทหารไทย ผลัดที่ ๖ และ นาวาโท สงัด ชลออยู่ ผู้บังคับ มส. เข้าเยี่ยมคำนับและอำลา พลเอก ฮัล ผู้บัญชาการทหารสูงสุด กองกำลังสหประชาชาติ ในโอกาสที่หน่วยทหารไทย ทั้งทหารบกและทหารเรือจะถอนกำลังกลับ พลเอก ฮัล ได้กล่าวชมเชยความสามารถพร้อมกับมอบเกียรติบัตรชมเชยหน่วยทหารไทยและหนังสือชมเชย แก่ผู้บังคับหน่วยทหารไทยด้วย 


http://www.navsource.org ) ๐๙/๓๒ ต่อมาเรือถูกเสนอขายให้กับรัฐบาลไทยตามโครงการช่วยเหลือทางทหาร เมื่อรัฐบาลไทยตกลงใจซื้อ USS Gallup จึงถูกปลดระวางประจำการเมื่อวันที่ ๒๙ ตุลาคม พ.ศ.๒๔๙๔ และขึ้นระวางประจำการกับกองทัพเรือในวันเดียวกันนั้นเองโดยได้รับพระราชทานชื่อ ร.ล.ประแส(ลำที่ ๒) กำหนดหมายเลขประจำเรือเป็นหมายเลข 2 และต่อมาเปลี่ยนเป็นหมายเลข 412 ระวางขับน้ำ ปรกติ ๑,๔๓๐ ตัน เต็มที่ ๒,๔๕๔ ตัน ขนาด ๙๒.๘๐ x ๑๑.๔๐ x ๕.๐๐ เมตร (ยาวxกว้างxกินน้ำลึก) อาวุธ ปืน ๗๖/๕๐มม.Mk22 จำนวน ๓ กระบอก, ปืน ๔๐/๖๐มม. Bofors Mk1 AA จำนวน ๒ กระบอก(แท่นเดี่ยว ๒ แท่น), ปืนกล ๒๐/๗๐ มม.Oerlikon จำนวน ๙ กระบอก, แท่นยิงจรวดปราบเรือดำน้ำ Hedgehog Mk11 Mod 0 จำนวน ๑แท่น, ท่อตอร์ปิโด ๓๒๔ มม. Mk32 Mod 0 แท่นเดี่ยว จำนวน ๒ แท่น(๒ ท่อยิง) ตอร์ปิโด Honeywell Mk46, แท่นยิงระเบิดลึก US. Mk6 จำนวน ๘ แท่น, รางปล่อยระเบิดลึก US. Mk9 จำนวน ๒ ราง ทหารประจำเรือ ๒๑๖ นาย ๑๑/๓๒ ระบบตรวจจับ เรดาร์อากาศ Westinghouse SPS-6C; D-band, เรดาร์พื้นน้ำ Raytheon SPS-10; G/H-band, เรดาร์ควบคุมการยิง Mk 51; I/J-band,เรดาร์เดินเรือ Decca I-band, IFF UPX 12B, โซนาร์ EDO SQS-17B; hull-mounted; active search and attack; medium/high frequency ๑๒/๓๒ เครื่องยนต์ เครื่องจักรไอน้ำแบบข้อเสือข้อต่อชนิดไอเผาขยายตัว ๓ ครั้ง ๔ สูบ ของ Joshua Hendy Ironworks ให้ กำลัง ๕,๕๐๐ แรงม้า ที่รอบเครื่องยนต์ ๑๘๐ รอบ/นาที หม้อน้ำ Babcock & Willcock จำนวน ๒ หม้อ แบบ Three drum express ชนิดน้ำเดินในหลอดน้ำเลี้ยงระดับ (ติดไฟใช้ ๕.๓๑ ตัน เต็มหม้อ ๖.๓๑ ตัน กำลังดันไอสูงสุด ๒๒๐ ปอนด์/ตร.นิ้ว ใช้การ ๒๐๐ ปอนด์/ตร.นิ้ว) ๒ เพลาใบจักร ความเร็วสูงสุด ๒๐.๓ นอต, มัธยัสถ์ ๑๕ นอต รัศมีทำการ ๓,๔๔๐ ไมล์ที่ความเร็วสูงสุด ๗,๓๘๓ ไมล์ ที่ความเร็วมัธยัสถ์
๑๓/๓๒ เครื่องกำเนิดไฟฟ้า ชนิดกังหันไอน้ำของ Westinghouse ๒ เครื่อง ให้กำลังไฟACเครื่องละ 60 kw, 440 VAC 3 Phrase, 60 Cycles, 96A กำลังไฟDCเครื่องละ 25 kw, 125 V 220 A. เครื่องกำเนิดไฟฟ้าชนิดเครื่องยนต์ดีเซล 4 จังหวะของ Detroit แบบ 8 V.71 จำนวน ๒ เครื่องให้กำลังไฟเครื่องละ 165 kw. 440 VAC 3 Phrase, 60 Cycles, 258 A. และมี Rectifier 115 V.DC. ขนาด 40 kw จำนวน 2 เครื่อง

เมื่อเรือซ่อมทำเสร็จ ได้ออกเดินทางไปเมืองปูซาน ในวันที่ ๒๑ มกราคม พ.ศ.๒๔๙๘ โดยเดินทางคุ้มกันเรือ Neikosan Meru ที่ลำเลียงทหารบกกลับสู่ประเทศไทย ถึงกรุงเทพฯในวันที่ ๓๑ มกราคม พ.ศ.๒๔๙๘ มีพิธีต้อนรับและจัดกำลังพลประจำเรือเข้าร่วมสวนสนาม ที่ลานพระราชวังดุสิต นับเป็นครั้งแรกของราชนาวีไทย ที่ได้ปฏิบัติการรบในสมรภูมิต่างประเทศ และได้นำชื่อเสียงทหารเรือไทยไปให้ชาวต่างชาติได้ประจักษ์

หมู่เรือ มส.ได้รับเหรียญกล้าหาญจากการปฏิบัติการ ดังนี้ ๑.Chungmu Distinguished Service Medal of Korea ๒.US.Bronze Star ๓.เหรียญปฏิบัติงานสหประชาชาติ (เกาหลี) ๔.เหรียญชัยสมรภูมิ (เกาหลี)

รูปวันรับมอบเรือจากกองทัพเรือสหรัฐฯที่ฐานทัพเรือโยโกสุกะ ประเทศญี่ปุ่น สังเกตุว่ายังเป็นหมายเลขเรือเดิมของสหรัฐนาวีอยู่

๐๒/๓๒ เมื่อกลับสู่ประเทศไทยแล้ว ร.ล.ประแส ได้เป็นกำลังหลักของกองเรือปราบเรือดำน้ำ กองเรือยุทธการ กองทัพเรือ ในการต่อต้านภัยคุกคามทางทะเลในช่วงการรุกคืบของลัทธิคอมมิวนิสต์ในคาบสมุทรอินโดจีน รวมทั้งใช้ฝึกภาคีซีโต้(South East Asia Treaty Organization-SEATO)ร่วมกับต่างประเทศ ในแถบทะเลจีนใต้และอ่าวไทย นอกจากนั้นได้ใช้เป็นเรือฝึกนักเรียนนายเรือเดินทางฝึกทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ ตลอดระยะเวลาที่ประจำการ ร.ล.ประแสได้รับการซ่อมปรับปรุงอยู่หลายครั้ง จนถึง พ.ศ.๒๕๓๗ ร.ล.ประแส มีสภาพเก่าชำรุด ไม่คุ้มกับการซ่อมทำใหม่ จึงได้ใช้เป็นเรือจอดฝึก สำหรับฝึกนักเรียนนายเรือและนักเรียนจ่าฯ

๐๓/๓๒ ภายหลังจากที่กองทัพเรือปลดระวางประจำการ ร.ล.ประแสแล้ว เทศบาลตำบลปากน้ำประแสได้เสนอโครงการก่อสร้างอนุสรณ์ ร.ล.ประแส พร้อมประสานงานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ขอรับ ร.ล.ประแสมาตั้งเป็นอนุสรณ์สถาน โดยมีการพัฒนาพื้นที่บริเวณโดยรอบให้แหล่งท่องเที่ยวแห่งใหม่ของท้องถิ่นและจังหวัดระยอง ซึ่งอนุสรณ์สถานแห่งนี้เป็นความภาคภูมิใจของชาวตำบลปากน้ำประแส ที่ได้มีโอกาสและมีส่วนร่วมในการก่อตั้งอนุสรณ์ ร.ล.ประแส ไว้ ณ บริเวณปากแม่น้ำประแสแห่งนี้ (ตามระเบียบการตั้งชื่อเรือหลวงของกองทัพเรือนั้น เรือฟริเกตจะตั้งตามชื่อแม่น้ำสายสำคัญของประเทศ)



ที่ตั้งของอนุสรณ์ ร.ล.ประแส อยู่ที่บริเวณหัวโขด ชายหาดประแส หมู่ที่ ๑ ตำบลปากน้ำกระแส อำเภอแกลง จังหวัดระยอง ระยะเวลาในการดำเนินโครงการ เริ่มต้นตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๔๔ จนถึงปัจจุบัน ใช้งบประมาณในการทำฐานรากรับเรือและลากจูงเรือ ๑๔,๕๗๐,๐๐๐ บาท ปรับปรุงภูมิทัศน์รอบเรือ ๒,๗๗๕,๐๐๐ บาท และทาสีเรือ ๒,๔๖๐,๐๐๐ บาท
๐๔/๓๒ เมื่อได้รับอนุมัติโครงการแล้ว จึงได้มีการจัดเตรียมสถานที่ตั้งเรือ และทำการเคลื่อนย้ายเรือเข้าสู่ที่ตั้ง สำหรับ ร.ล.ประแสนั้น หลังจากที่ปลดระวางประจำการแล้วได้ถูกนำมาจอดไว้ที่ท่าจอดเรือ อู่ราชนาวีมหิดลอดุลยเดช ใกล้กับท่าเรือจุกเสม็ด ฐานทัพเรือสัตหีบ จังหวัดชลบุรี โดยมีสภาพตัวเรือค่อนข้างทรุดโทรม แผ่นเหล็กเปลือกเรือและโครงสร้างต่าง ๆ เช่น กระดูกงู กง ฝากั้นฯ เป็นสนิมผุกร่อน ตัวเรือใต้แนวน้ำบางส่วน มีน้ำทะเลรั่วเข้ามา มีการเทปูนทับไว้เป็นการชั่วคราวแต่เรือยังสามารถลอยลำอยู่ได้(รูปซ้ายบน) คณะทำงานเคลื่อนย้ายเรือฯได้นำออกจากท่าเทียบเรือโดยกองเรือยุทธบริการสนับสนุน ร.ล.แสมสาร(รูปขวาบน) และ ร.ล.รัง(รูปขวาล่าง) ร่วมกับเรือประมงของชาวปากน้ำประแส(รูปซ้ายล่าง) นำ ร.ล.ประแส มาถึงปากน้ำประแส ในวันที่ ๒๕ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๔๖


๐๖/๓๒ เมื่อ ร.ล.ประแสเดินทางมาถึงได้นำเรือจอดผูกทุ่นอยู่บริเวณปากน้ำประแส(รูปซ้ายบน) จนวันที่ ๒๗ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๔๖ เมื่อได้เวลาน้ำทะเลขึ้นสูงสุด ได้ใช้รถแทรคเตอร์ทำการดึงเรือผ่านร่องน้ำที่ขุดเตรียมไว้(รูปขวาบน) นำเรือเข้านั่งแท่นตรงจุดที่กำหนด(รูปขวาล่าง) จากน้ำจึงทำการไถดินกลบและเทพื้นคอนกรีตปรับภูมิทัศน์รอบตัวเรือ

๐๘/๓๒ USS Gallup แต่เดิมกำหนดประเภทเป็นเรือตรวจการณ์ปืน (PG-Patrol Gunboat)หมายเลข PG-155 ต่อมาถูกเปลี่ยนประเภทเป็นเรือฟริเกต(PF-Patrol Frigate)หมายเลข PF-47 วางกระดูกงูเมื่อวันที่ ๑๘ สิงหาคม พ.ศ.๒๔๘๖ ที่อู่Consolidated Steel Corporation, Los Angeles, California ปล่อยเรือลงน้ำเมื่อวันที่ ๑๗ กันยายน พ.ศ.๒๔๘๖ ขึ้นระวางประจำการเมื่อวันที่ ๒๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๔๘๗ ที่ San Pedro, California มี น.ต. Clayton M. Opp เป็นผู้บังคับการเรือคนแรก ปลดระวางประจำการครั้งแรกเมื่อวันที่ ๒๖ สิงหาคม พ.ศ.๒๔๘๘ ที่ Cold Habor, Alaska และให้สหภาพโซเวียตเช่าเป็นเวลา ๔ ปี โดยได้รับชื่อเรือ EK-19 ส่งกลับคืนเมื่อวันที่ ๑๔ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๔๙๒ และจอดสำรองราชการใน Pacific Reserve Fleet ที่เมืองโยโกสุกะ ประเทศญี่ปุ่น เมื่อเริ่มสงครามเกาหลีได้เข้าประจำการอีกครั้งเมื่อวันที่ ๑๘ ตุลาคม พ.ศ.๒๔๙๓ (ข้อมูลจาก โอเค เนชั่น)


นอกจากนี้บริเวณอนุสรณ์สถานเรือรบประแสยังประกอบไปด้วยโครงการปลูกป่าชายเลนรอบบริเวณ ตามพระราชดำริของพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาทอีกด้วย




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น