วันพฤหัสบดีที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2554

ที่พัก และ กิจกรรม บ้านริมน้ำ

 บ้านริมน้ำ โฮมสเตย์ แอนด์ รีสอร์ท            เป็นบ้านไม้ทรงโบราณสองชั้น ริมแม่น้ำประแสร์ ที่ไหลลงทะเลอ่าวไทยตรง จ.ระยอง และถึงแม้ว่าจะเรียกว่า โฮมสเตย์ แต่ห้องพักจริงๆก็มีความเป็นสัดส่วนเป็นส่วนตัว แต่ที่เห็นจะไม่ส่วนตัวก็คือ เรื่องอาหารที่มีแม่ครัวใจดีทำอาหารอร่อยๆ มาให้เราทานได้ตลอดเวลา ไม่ว่าจะอาหารทะเลสดๆ ทั้งที่ทางบ้านริมน้ำจับมา หรือ กุ้ง หอย ปู ปลา สารพันที่เรามีความสามารถในการจับมาได้เอง    ก็สามารถมาร่วมทำอาหารด้วยกันได้
บ้านริมน้ำ มีบริการ บ้านพัก ที่มีให้เลือกสองแบบคือ ห้องพัดลมและห้องแอร์ นอกจากนั้นยังมีบริการรับจัดสัมนา ประชุม และงานเลี้ยงสังสรรค์ บริการอาหาร เครื่องดื่ม บริการนำเที่ยว ตกปลา ดำน้ำรวมทั้งกิจกรรมมากมายที่สามารถสอบถามได้ บริการด้วยใจ ต้อนรับเหมือนเพื่อนมาเยือนบ้านเลยทีเดียว

บ้านริมน้ำคือบ้านไม้กึ่งปูนหลังใหญ่ ที่แบ่งเป็นห้องๆให้แขกผู้มาพักได้ร่วมอาศัย ทั้งแบบที่เป็นห้องแอร์ หรือ ห้องพัดลม รวมไปถึงแบบฟูกเสื่อจันทรบูรณ์ปูพื้นก็มีเช่นกัน ดังนั้น ไม่ว่าคุณจะมาเดี่ยว มาคู่ หรือ มาทั้งคันรถบัส บ้านริมน้ำก็ยินดีต้อนรับทุกคนแบบเต็มที่ ซึ่งโดยปรกติแขกที่มาพักนิยมจองล่วงหน้า เพราะสะดวกและทางเราก็สามารถเตรียมตัวต้อนรับได้เต็มที่ ติดต่อสอบถามได้ที่  
คุณกิตติวรา โทร 083 692 0088
หรือ             โทร 085 276 1616  
โทรสาร       โทร 038 661 243

แบบห้องต่างๆ เลือกได้ตามใจชอบ แต่ทุกห้องตกแต่งแบบย้อนยุค ก็ต่างกันไปทั้งเรื่องราคาและบรรยากาศโดย ทางเราได้รวมค่าที่พักและค่าอาหาร และค่าบริการต่างๆ ในราคาแพคเกจที่คุณได้จองไว้เรียบร้อยแล้ว





โปรแกรมท่องเที่ยว 2วัน 1คืน
(ดำน้ำ ตกปลา เที่ยวป่าชายเลน)

วันที่ 1  - ถึงที่พักบ้านริมน้ำ ทานอาหารกลางวัน
เดินทางไปหมู่เกาะมัน ศูนย์อนุรักษ์เต่าทะเล ดำน้ำ        ชมปะการัง ช่วงเย็นมีกิจกรรม แคมป์ปิ้ง หรือตกปลา ทำอาหาร หรืออาจกลับมาทานอาหารร่วมกันที่บ้านริมน้ำ

วันที่ 2 -  เที่ยวชมวิถีชาวบ้าน ศาลเสด็จเตี่ย เดินป่าชายเลน ชมทุ่งโปงทอง ชมเรือรบประแสร์ แวะซื้อของฝาก  ชิมผลไม้สดๆจากสวน







หรือว่าถ้าอยากจะเที่ยว แบบสั้นๆ เพราะมีเวลาน้อยก็มีโปรแกรมแบบสั้นๆเอาใจคนเมืองเช่นกัน

เที่ยว 1 วัน
เริ่มเช้าๆหน่อย ซัก 8 โมง เที่ยวชมชุมชนปากน้ำประแสร์ ทุงโปงทอง จากนั้นกลับมาทานอาหารกลางวัน บ่ายๆ ไปดำน้ำชมปะการังหมู่เกาะมัน ชมศูนย์อนุรักษ์เต่าทะเล ตกเย็นทานอาหารทะเลสดๆ

เที่ยวครึ่งวัน
ช่วงบ่ายๆล่องเรือชมทรรศนียภาพแม่น้ำประแสร์ ทานอาหารบนเรือ ที่มีสิ่งอำนวยความบันเทิงเช่น   คาราโอเกะ เครื่องเสียง ในบรรยากาศใกล้พระอาทิตย์ตก ปากอ่าวไทย

แถมด้วยยังมีบริการพิเศษต่างๆที่สามารถสอบถามได้ เช่น การพาไปลอบอังคาร(กระดูก) หรือเช่าเหมาเรือ แบบครึ่งวันเต็มวัน ตกปลา ตกหมึก ถ่ายแบบ ก็ได้ทั้งนั้น


วีถีชาวบ้าน ปากน้ำประแสร์


ตำบลปากน้ำกระแสเป็นตำบลหนึ่งใน 15 ตำบล ของอำเภอแกลง จังหวัดระยอง เป็นพื้นที่ติดต่อกับทิศตะวันออกของอ่าวไทย ห่างจากอำเภอเมืองระยองประมาณ 64 กิโลเมตร มีพื้นที่ประมาณ 189.492 ตารางกิโลเมตร มีจำนวนประชากรทั้งหมด 7,140 คน
( ข้อมูลตำบลปากน้ำกระแส ปี 2543 )

สภาพภูมิประเทศของชุมชนปากน้ำประแส เป็นที่ราบเชิงเขาตลอดไปถึงทะเลตะวันออกของอ่าวไทย ทิศเหนือส่วนใหญ่คงสภาพป่าไม้ซึ่งมีแหล่งต้นน้ำลำธาร แม่น้ำพังราด แม่น้ำประแส ทำให้สภาพพื้นที่เหมาะแก่การทำไร่ ทำสวน สมบูรณ์ไปด้วยผลไม้ ไม้ยืนต้น เช่น เงาะ ทุเรียน มังคุด และสวนยางพารา สภาพพื้นดินโดยทั่วไปเป็นดินร่วนระบายน้ำได้ดี บริเวณตอนใต้เป็นโคลนตมเหมาะสำหรับเลี้ยงสัตว์น้ำเค็ม ทำฟาร์มกุ้งกุลาดำ ทำฟาร์มหอยนางรม ตามชายฝั่งทะเล สภาพภูมิอากาศโดยทั่วไปเป็นลักษณะมรสุมเมืองร้อน เนื่องจากมีพื้นที่ติดกับชายฝั่งทะเลประกอบกับสภาพป่า ตอนเหนือเป็นสวนผลไม้ จึงทำให้ฝนตกในช่วงเดือนพฤษภาคม เดือนกันยายนอยู่เสมอ
สภาพเศรษฐกิจอาชีพสำคัญของชาวบ้านในชุมชนปากน้ำประแสนั้น ส่วนใหญ่จะเป็นในเรื่องของการยึดอาชีพประมง หากินทางทะเลทั้งเรือใหญ่และเรือเล็ก มีสมาคมประมงปากน้ำประแสร์ ปัจจุบันสัตว์น้ำในอ่าวไทยลดน้อยลงชาวประมงต้องหากินไกลขึ้น ต้นทุนการประกอบอาชีพก็สูงขึ้น อีกทั้งมีความเสี่ยงที่จะต้องถูกจับในน่านน้ำประเทศเพื่อนบ้านก็สูงขึ้น จึงมีการส่งเสริมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำตามชายฝั่ง โดยมีการทำฟาร์มกุ้งกุลาดำ และฟาร์มหอยนางรม จากการที่ประชาชนมีการประกอบอาชีพประมงทางทะเลกันมาก จึงมีอีกอาชีพหนึ่งที่เป็นการส่งเสริมอุตสาหกรรมเฉพาะกิจการประมง คือ อู่ซ่อมเรือ โรงงานปลาป่นในชุมชน และกิจการอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับทะเล

 
ศาลกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ นับว่าเป็นศาลหนึ่งที่มีความสำคัญและเคารพรักกับชาวปากน้ำประแสร์มาก ทั้งยังเป็นสถานที่ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ทรงเสด็จมาเปิดศาล วางศิลาฤกษ์ด้วยตนเอง  อันมีบันทึกของเสด็จในกรม ว่าไว้  "เจอบันทึกนี้ให้เอาคำต่อไปนี้ของกูไปประกาศให้คนรู้ว่า กู กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ผู้เป็นโอรสของ พระปิยะมหาราชขอประกาศให้พวกมึงรับรู้ไว้ว่า แผ่นดินสยามนี้ บรรพบุรุษได้เอาเลือด เอาเนื้อ เอาชีวิตเข้าแลกไว้ ไอ้อีมันผู้ใดบังอาจทำลายแผ่นดิน ทำลายชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ฤากระทำการทุจริต ก่อให้เกิดความเดือดร้อนต่อส่วนรวม จงหยุดการกระทำนั้นเสียโดเร็ว ก่อนที่กูจะสังหารผลาญสิ้นทั้งโคตร ให้หมดเสนียดของแผ่นดินสยามอันเป็นที่รักของกู ตราบใดคำว่า อาภากร ยังยืนหยัดอยู่ในโลกนี้ กูจะรักษาแผ่นดินสยามของกู ลูกหลานทั้งหลาย แผ่นดินใดให้เรากำเนิดมา แผ่นดินใดที่ให้ที่ซุกหัวนอนให้ความร่มเย็นเป็นสุขมิให้อนาทรร้อนใจ จงซื่อสัตย์ต่อแผ่นดินนั้น           



ศาลเจ้าแม่ตะเคียนงาม ที่ชาวบ้านปากน้ำประแสร์รู้จักดี ก็เป็นจุดหนึ่งที่นักเสี่ยงโชคควรจะไปเยี่ยมชม








                      
  สำหรับวัดตะเคียนงาม เป็นวัดเก่าแก่ ที่มีต้นตะเคียนคู่เป็นสัญลักษณ์ ชาวบ้านมีความเชื่อว่าเป็นต้นตะเคียนคู่เจ้าแม่และเจ้าพ่อ เป็นต้นไม้ขนาดใหญ่ อายุกว่า 500 ปี จึงเป็นที่มาของชื่อวัดตะเคียนงาม และยังมีศาลเจ้าแม่ตะเคียน เพื่อให้นักท่องเที่ยวเข้ามากราบสักการะเพื่อเป็นสิริมงคล
 
ประมวลภาพวิถีชาวบ้านปากน้ำประแสร์







การทำกะปิ ก็เป็นหนึ่งในอาชีพพื้นบ้านของชาวประแสร์ แถมยังเป็ขของฝากชั้นดีติดมือกลับไป



ล่องเรือชมวิถีชาวประมงแห่งปากน้ำประแสร์

ปากน้ำประแสร์ ยังอุดมไปด้วยป่าชายเลนและสัตว์น้ำ ชาวบ้านที่นี่จึงมีอาชีพส่วนใหญ่ เป็นชาวประมง ไม่ว่าจะออกเรือหาปลาทั้งประมงชายฝั่งหรือประมงน้ำลึก รวมไปถึงการเลี้ยงหอย ปู อิงกับธรรมชาติ






เรือรบหลวงประแสร์ ตำนานที่คงอยู่

ถือว่าเป็นเรืออีกหนึ่งลำที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ของราชนาวีไทย เมื่อปลดประจำการแล้ว ทางเทศบาลตำบลปากน้ำประแสได้นำไปจอดทำสร้างเป็นอนุสรณ์เรือหลวงประแสร์ (ลำที่๒) ซึ่งเป็นตัวอย่างหนึ่งของการอนุรักษ์เรือเก่าที่ปลดประจำการเอาไว้
๐๑/๓๒ จากการที่กองทัพเรือได้จัดส่งกำลังทางเรือเข้าปฏิบัติการร่วมกับองค์การสหประชาชาติ กรณีพิพาทระหว่างเกาหลีเหนือกับเกาหลีใต้ ซึ่งในการรบกองทัพเรือต้องสูญเสีย เรือรบหลวงประแส(ลำที่ ๑)ไป รัฐบาลไทยจึงให้กระทรวงการต่างประเทศ ติดต่อซื้อเรือจากประเทศสหรัฐอเมริกา จำนวน ๒ ลำ โดยกองทัพเรือสหรัฐฯได้เสนอเรือฟริเกต(Patrol Frigate) ชั้น Tacoma จำนวน ๒ ลำ คือ USS Glendale (PF 36)และ USS Gallup (PF 47) ต่อมาได้รับพระราชทานชื่อ ร.ล.ท่าจีน(ลำที่ ๒)และ ร.ล.ประแส(ลำที่ ๒) ตามลำดับ โดยเรือทั้ง ๒ ลำซื้อมาในราคา ๘๖๑,๙๔๖เหรียญสหรัฐฯ

 พิธีรับมอบเรือทั้ง ๒ ลำ มีขึ้นเมื่อวันที่ ๒๙ ตุลาคม พ.ศ.๒๔๙๔ ที่ท่าเรือหมายเลข ๑๒ ของฐานทัพเรือโยโกสุกะ  ประเทศญี่ปุ่น โดยมีเอกอัครราชทูตไทยประจำประเทศญี่ปุ่น นายสง่า นิลกำแหง เป็นประธานรับมอบฝ่ายไทย ต่อมาในวันที่ ๒๖ ธันวาคม พ.ศ.๒๔๙๔ ร.ล.ท่าจีน(ลำที่ ๒)และ ร.ล.ประแส(ลำที่ ๒)ได้ออกเดินทางไปยังฐานทัพเรือซาเซโบ เพื่อรับหน้าที่แทน ร.ล.บางปะกง และเข้าสังกัดกองเรือสหประชาชาติในวันที่ ๒๙ ธันวาคม พ.ศ.๒๔๙๔ โดยมี น.อ.วิเชียร พันธุ์โภคา เป็น ผบ.หมู่เรือฟริเกตร่วมรบสหประชาชาติ ( มฟ. ) น.ท.จรูญ โอสถรูป เป็น ผบ.ร.ล.ท่าจีน(PF-1) และ น.ท.อมร ศิริกายะ เป็น ผบ.ร.ล.ประแส(PF-2) 

ภารกิจแรกของหมู่เรือ เริ่มตั้งแต่วันที่ ๑๑ มกราคม พ.ศ.๒๔๙๕ คือออกเรือลาดตะเวนปิดอ่าวคุ้มกันเรือลำเลียง เรือบรรทุกน้ำมัน เรือกวาดทุ่นระเบิด ระดมยิงฝั่งเป็นครั้งคราว โดยมียุทธบริเวณตั้งแต่ท่าเรือปูซานฝั่งตะวันออก เรื่อยไปจนถึงวอนซานในเกาหลี และตลอดระยะเวลาประมาณ ๒ ปีเศษ ร.ล.ประแส ได้ออกปฏิบัติการตามภารกิจทางยุทธการรวม ๓๒ ครั้ง ระยะเวลาประมาณ ๓๐๐ วัน

หลังจากที่ได้มีการเซ็นสัญญาสงบศึกในวันที่ ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ.๒๔๙๗ แล้ว ร.ล.ประแสยังคงวางกำลังอยู่ที่ประ เทศญี่ปุ่นต่อมาอีกระยะเวลาหนึ่ง จนกระทั่งในวันที่ ๖ มกราคม พ.ศ.๒๔๙๘ กระทรวงกลาโหม ได้มีคำสั่ง (เฉพาะ) ที่ ๒/๒๕๗ ให้ถอนทหารบางส่วนกลับประเทศไทย สำหรับกำลังทางเรือ กำหนดให้ถอนกำลัง มส. พร้อมด้วย ร.ล.ท่าจีน และ ร.ล.ประแส กลับและให้เรือทั้ง ๒ ลำ ทำหน้าที่คุ้มกันเรือลำเลียงทหารบก ในระหว่างการเดินทางกลับด้วย
ก่อนหมู่เรือจะเดินทางกลับ ได้เข้ารับการซ่อมทำที่อู่โยโกสุกะ ประเทศญี่ปุ่น เมื่อวันที่ ๕ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๔๙๗ เนื่องจากเรือชำรุดทรุดโทรมในขณะออกปฏิบัติการตามภารกิจ ในระหว่างที่เรือทั้ง ๒ ลำ กำลังเข้ารับ การซ่อมใหญ่ในอู่ที่ฐานทัพเรือโยโกสุกะอยู่นั้น ในวันที่ ๖ มกราคม พ.ศ. ๒๔๙๘ เวลา ๑๐.๓๐ น. พันเอก ชัยรัตน์ อินทุภูมิ หัวหน้านายทหารติดต่อประจำกองบัญชาการกองกำลังสหประชาชาติ ได้นำ พันโท อำนวย โสมนัส ผู้บังคับกองพันทหารไทย ผลัดที่ ๖ และ นาวาโท สงัด ชลออยู่ ผู้บังคับ มส. เข้าเยี่ยมคำนับและอำลา พลเอก ฮัล ผู้บัญชาการทหารสูงสุด กองกำลังสหประชาชาติ ในโอกาสที่หน่วยทหารไทย ทั้งทหารบกและทหารเรือจะถอนกำลังกลับ พลเอก ฮัล ได้กล่าวชมเชยความสามารถพร้อมกับมอบเกียรติบัตรชมเชยหน่วยทหารไทยและหนังสือชมเชย แก่ผู้บังคับหน่วยทหารไทยด้วย 


http://www.navsource.org ) ๐๙/๓๒ ต่อมาเรือถูกเสนอขายให้กับรัฐบาลไทยตามโครงการช่วยเหลือทางทหาร เมื่อรัฐบาลไทยตกลงใจซื้อ USS Gallup จึงถูกปลดระวางประจำการเมื่อวันที่ ๒๙ ตุลาคม พ.ศ.๒๔๙๔ และขึ้นระวางประจำการกับกองทัพเรือในวันเดียวกันนั้นเองโดยได้รับพระราชทานชื่อ ร.ล.ประแส(ลำที่ ๒) กำหนดหมายเลขประจำเรือเป็นหมายเลข 2 และต่อมาเปลี่ยนเป็นหมายเลข 412 ระวางขับน้ำ ปรกติ ๑,๔๓๐ ตัน เต็มที่ ๒,๔๕๔ ตัน ขนาด ๙๒.๘๐ x ๑๑.๔๐ x ๕.๐๐ เมตร (ยาวxกว้างxกินน้ำลึก) อาวุธ ปืน ๗๖/๕๐มม.Mk22 จำนวน ๓ กระบอก, ปืน ๔๐/๖๐มม. Bofors Mk1 AA จำนวน ๒ กระบอก(แท่นเดี่ยว ๒ แท่น), ปืนกล ๒๐/๗๐ มม.Oerlikon จำนวน ๙ กระบอก, แท่นยิงจรวดปราบเรือดำน้ำ Hedgehog Mk11 Mod 0 จำนวน ๑แท่น, ท่อตอร์ปิโด ๓๒๔ มม. Mk32 Mod 0 แท่นเดี่ยว จำนวน ๒ แท่น(๒ ท่อยิง) ตอร์ปิโด Honeywell Mk46, แท่นยิงระเบิดลึก US. Mk6 จำนวน ๘ แท่น, รางปล่อยระเบิดลึก US. Mk9 จำนวน ๒ ราง ทหารประจำเรือ ๒๑๖ นาย ๑๑/๓๒ ระบบตรวจจับ เรดาร์อากาศ Westinghouse SPS-6C; D-band, เรดาร์พื้นน้ำ Raytheon SPS-10; G/H-band, เรดาร์ควบคุมการยิง Mk 51; I/J-band,เรดาร์เดินเรือ Decca I-band, IFF UPX 12B, โซนาร์ EDO SQS-17B; hull-mounted; active search and attack; medium/high frequency ๑๒/๓๒ เครื่องยนต์ เครื่องจักรไอน้ำแบบข้อเสือข้อต่อชนิดไอเผาขยายตัว ๓ ครั้ง ๔ สูบ ของ Joshua Hendy Ironworks ให้ กำลัง ๕,๕๐๐ แรงม้า ที่รอบเครื่องยนต์ ๑๘๐ รอบ/นาที หม้อน้ำ Babcock & Willcock จำนวน ๒ หม้อ แบบ Three drum express ชนิดน้ำเดินในหลอดน้ำเลี้ยงระดับ (ติดไฟใช้ ๕.๓๑ ตัน เต็มหม้อ ๖.๓๑ ตัน กำลังดันไอสูงสุด ๒๒๐ ปอนด์/ตร.นิ้ว ใช้การ ๒๐๐ ปอนด์/ตร.นิ้ว) ๒ เพลาใบจักร ความเร็วสูงสุด ๒๐.๓ นอต, มัธยัสถ์ ๑๕ นอต รัศมีทำการ ๓,๔๔๐ ไมล์ที่ความเร็วสูงสุด ๗,๓๘๓ ไมล์ ที่ความเร็วมัธยัสถ์
๑๓/๓๒ เครื่องกำเนิดไฟฟ้า ชนิดกังหันไอน้ำของ Westinghouse ๒ เครื่อง ให้กำลังไฟACเครื่องละ 60 kw, 440 VAC 3 Phrase, 60 Cycles, 96A กำลังไฟDCเครื่องละ 25 kw, 125 V 220 A. เครื่องกำเนิดไฟฟ้าชนิดเครื่องยนต์ดีเซล 4 จังหวะของ Detroit แบบ 8 V.71 จำนวน ๒ เครื่องให้กำลังไฟเครื่องละ 165 kw. 440 VAC 3 Phrase, 60 Cycles, 258 A. และมี Rectifier 115 V.DC. ขนาด 40 kw จำนวน 2 เครื่อง

เมื่อเรือซ่อมทำเสร็จ ได้ออกเดินทางไปเมืองปูซาน ในวันที่ ๒๑ มกราคม พ.ศ.๒๔๙๘ โดยเดินทางคุ้มกันเรือ Neikosan Meru ที่ลำเลียงทหารบกกลับสู่ประเทศไทย ถึงกรุงเทพฯในวันที่ ๓๑ มกราคม พ.ศ.๒๔๙๘ มีพิธีต้อนรับและจัดกำลังพลประจำเรือเข้าร่วมสวนสนาม ที่ลานพระราชวังดุสิต นับเป็นครั้งแรกของราชนาวีไทย ที่ได้ปฏิบัติการรบในสมรภูมิต่างประเทศ และได้นำชื่อเสียงทหารเรือไทยไปให้ชาวต่างชาติได้ประจักษ์

หมู่เรือ มส.ได้รับเหรียญกล้าหาญจากการปฏิบัติการ ดังนี้ ๑.Chungmu Distinguished Service Medal of Korea ๒.US.Bronze Star ๓.เหรียญปฏิบัติงานสหประชาชาติ (เกาหลี) ๔.เหรียญชัยสมรภูมิ (เกาหลี)

รูปวันรับมอบเรือจากกองทัพเรือสหรัฐฯที่ฐานทัพเรือโยโกสุกะ ประเทศญี่ปุ่น สังเกตุว่ายังเป็นหมายเลขเรือเดิมของสหรัฐนาวีอยู่

๐๒/๓๒ เมื่อกลับสู่ประเทศไทยแล้ว ร.ล.ประแส ได้เป็นกำลังหลักของกองเรือปราบเรือดำน้ำ กองเรือยุทธการ กองทัพเรือ ในการต่อต้านภัยคุกคามทางทะเลในช่วงการรุกคืบของลัทธิคอมมิวนิสต์ในคาบสมุทรอินโดจีน รวมทั้งใช้ฝึกภาคีซีโต้(South East Asia Treaty Organization-SEATO)ร่วมกับต่างประเทศ ในแถบทะเลจีนใต้และอ่าวไทย นอกจากนั้นได้ใช้เป็นเรือฝึกนักเรียนนายเรือเดินทางฝึกทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ ตลอดระยะเวลาที่ประจำการ ร.ล.ประแสได้รับการซ่อมปรับปรุงอยู่หลายครั้ง จนถึง พ.ศ.๒๕๓๗ ร.ล.ประแส มีสภาพเก่าชำรุด ไม่คุ้มกับการซ่อมทำใหม่ จึงได้ใช้เป็นเรือจอดฝึก สำหรับฝึกนักเรียนนายเรือและนักเรียนจ่าฯ

๐๓/๓๒ ภายหลังจากที่กองทัพเรือปลดระวางประจำการ ร.ล.ประแสแล้ว เทศบาลตำบลปากน้ำประแสได้เสนอโครงการก่อสร้างอนุสรณ์ ร.ล.ประแส พร้อมประสานงานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ขอรับ ร.ล.ประแสมาตั้งเป็นอนุสรณ์สถาน โดยมีการพัฒนาพื้นที่บริเวณโดยรอบให้แหล่งท่องเที่ยวแห่งใหม่ของท้องถิ่นและจังหวัดระยอง ซึ่งอนุสรณ์สถานแห่งนี้เป็นความภาคภูมิใจของชาวตำบลปากน้ำประแส ที่ได้มีโอกาสและมีส่วนร่วมในการก่อตั้งอนุสรณ์ ร.ล.ประแส ไว้ ณ บริเวณปากแม่น้ำประแสแห่งนี้ (ตามระเบียบการตั้งชื่อเรือหลวงของกองทัพเรือนั้น เรือฟริเกตจะตั้งตามชื่อแม่น้ำสายสำคัญของประเทศ)



ที่ตั้งของอนุสรณ์ ร.ล.ประแส อยู่ที่บริเวณหัวโขด ชายหาดประแส หมู่ที่ ๑ ตำบลปากน้ำกระแส อำเภอแกลง จังหวัดระยอง ระยะเวลาในการดำเนินโครงการ เริ่มต้นตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๔๔ จนถึงปัจจุบัน ใช้งบประมาณในการทำฐานรากรับเรือและลากจูงเรือ ๑๔,๕๗๐,๐๐๐ บาท ปรับปรุงภูมิทัศน์รอบเรือ ๒,๗๗๕,๐๐๐ บาท และทาสีเรือ ๒,๔๖๐,๐๐๐ บาท
๐๔/๓๒ เมื่อได้รับอนุมัติโครงการแล้ว จึงได้มีการจัดเตรียมสถานที่ตั้งเรือ และทำการเคลื่อนย้ายเรือเข้าสู่ที่ตั้ง สำหรับ ร.ล.ประแสนั้น หลังจากที่ปลดระวางประจำการแล้วได้ถูกนำมาจอดไว้ที่ท่าจอดเรือ อู่ราชนาวีมหิดลอดุลยเดช ใกล้กับท่าเรือจุกเสม็ด ฐานทัพเรือสัตหีบ จังหวัดชลบุรี โดยมีสภาพตัวเรือค่อนข้างทรุดโทรม แผ่นเหล็กเปลือกเรือและโครงสร้างต่าง ๆ เช่น กระดูกงู กง ฝากั้นฯ เป็นสนิมผุกร่อน ตัวเรือใต้แนวน้ำบางส่วน มีน้ำทะเลรั่วเข้ามา มีการเทปูนทับไว้เป็นการชั่วคราวแต่เรือยังสามารถลอยลำอยู่ได้(รูปซ้ายบน) คณะทำงานเคลื่อนย้ายเรือฯได้นำออกจากท่าเทียบเรือโดยกองเรือยุทธบริการสนับสนุน ร.ล.แสมสาร(รูปขวาบน) และ ร.ล.รัง(รูปขวาล่าง) ร่วมกับเรือประมงของชาวปากน้ำประแส(รูปซ้ายล่าง) นำ ร.ล.ประแส มาถึงปากน้ำประแส ในวันที่ ๒๕ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๔๖


๐๖/๓๒ เมื่อ ร.ล.ประแสเดินทางมาถึงได้นำเรือจอดผูกทุ่นอยู่บริเวณปากน้ำประแส(รูปซ้ายบน) จนวันที่ ๒๗ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๔๖ เมื่อได้เวลาน้ำทะเลขึ้นสูงสุด ได้ใช้รถแทรคเตอร์ทำการดึงเรือผ่านร่องน้ำที่ขุดเตรียมไว้(รูปขวาบน) นำเรือเข้านั่งแท่นตรงจุดที่กำหนด(รูปขวาล่าง) จากน้ำจึงทำการไถดินกลบและเทพื้นคอนกรีตปรับภูมิทัศน์รอบตัวเรือ

๐๘/๓๒ USS Gallup แต่เดิมกำหนดประเภทเป็นเรือตรวจการณ์ปืน (PG-Patrol Gunboat)หมายเลข PG-155 ต่อมาถูกเปลี่ยนประเภทเป็นเรือฟริเกต(PF-Patrol Frigate)หมายเลข PF-47 วางกระดูกงูเมื่อวันที่ ๑๘ สิงหาคม พ.ศ.๒๔๘๖ ที่อู่Consolidated Steel Corporation, Los Angeles, California ปล่อยเรือลงน้ำเมื่อวันที่ ๑๗ กันยายน พ.ศ.๒๔๘๖ ขึ้นระวางประจำการเมื่อวันที่ ๒๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๔๘๗ ที่ San Pedro, California มี น.ต. Clayton M. Opp เป็นผู้บังคับการเรือคนแรก ปลดระวางประจำการครั้งแรกเมื่อวันที่ ๒๖ สิงหาคม พ.ศ.๒๔๘๘ ที่ Cold Habor, Alaska และให้สหภาพโซเวียตเช่าเป็นเวลา ๔ ปี โดยได้รับชื่อเรือ EK-19 ส่งกลับคืนเมื่อวันที่ ๑๔ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๔๙๒ และจอดสำรองราชการใน Pacific Reserve Fleet ที่เมืองโยโกสุกะ ประเทศญี่ปุ่น เมื่อเริ่มสงครามเกาหลีได้เข้าประจำการอีกครั้งเมื่อวันที่ ๑๘ ตุลาคม พ.ศ.๒๔๙๓ (ข้อมูลจาก โอเค เนชั่น)


นอกจากนี้บริเวณอนุสรณ์สถานเรือรบประแสยังประกอบไปด้วยโครงการปลูกป่าชายเลนรอบบริเวณ ตามพระราชดำริของพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาทอีกด้วย